ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Km-4-2553:เทคนิคการเลือกเครื่องแต่งกายหรือการแต่งตัวของผู้ให้บริการ.(30/03/2554)

๑.        ยึดแนวทางของที่ทำงาน โดยการแต่งกายตามแบบของตัวเอง แต่อยู่ภายใต้แนวทางของที่ทำงาน
๒.        การแต่งตัวให้เหมาะสม ก็คือการแต่งให้ดูดี อาจใช้เครื่องประดับชิ้นเล็ก ๆ ประกอบให้ดูสวยงามขึ้นก็ได้ ควรหลีกเลี่ยงการแต่งกายที่เป็นแนวแฟชั่นและอาจใช้แบบฟอร์มชุดทำงานเพื่อให้ดูเป็นงานเป็นการก็ได้ 
๓.        การมีสไตล์ที่แน่นอน มีความคงเส้นคงวา ไม่หวือหวา หรือเปลี่ยนสไตล์การแต่งตัวบ่อยนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นระดับหัวหน้า หรือผู้จัดการควรแต่งตัวให้ดูน่าเชื่อถือ มากกว่าแต่งตัวตามอารมณ์หรือตามแฟชั่น
๔.        การมีชุดเก่งไว้สักชุด เป็นชุดที่เมื่อได้สวมใส่แล้วจะรู้สึกภาคภูมิ และมั่นใจ โดยการเลือกเสื้อผ้า  ควรเลือกซื้อชุดที่ไม่คับตรงสะโพก หรือบั้นท้ายจนเกินไป ไม่เลือกเนื้อผ้าที่ยับหรือย่นง่าย เพื่อไม่ให้มีปัญหาเมื่อต้องนั่งนาน หรือต้องออกไปนอกสถานที่
๕.        การแต่งตัวให้ดูดีมีบุคลิก เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องใช้เสื้อผ้า  ราคาแพงเสมอไป เสื้อผ้าลดราคา แต่ตัดเย็บเรียบร้อย แบบดูดี รีดเรียบ จะทำให้ผู้สวมใส่ดูมีบุคลิกดีได้
๖.        การดูแลความสะอาดเรียบร้อย ตั้งแต่ศีรษะจดปลายเท้า เริ่มตั้งแต่ทรงผม เล็บมือ เล็บเท้า ไปจนถึงรองเท้า เพื่อมิให้เสียบุคลิกภาพโดยรวม
๗.        การตัดผมหรือไว้ทรงผมที่เรียบร้อย เหมาะสมกับใบหน้าจะช่วยเสริมให้บุคคลผู้นั้นดูดีขึ้น หล่อขึ้น สวยขึ้นได้ อีกทั้งต้องมีความเหมาะสมกับงานที่จะทำ
๘.        การแต่งหน้าสำหรับผู้หญิง เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ไม่ชอบการแต่งหน้า ทาปากก็ควรแต่งแต้มให้มีสีสันบ้าง ไม่ควรปล่อยให้หน้าซีดเซียว เพราะจะทำให้ดูเหมือนเป็นคนป่วย ดูไม่สดชื่น
๙.        การเลือกสีเสื้อผ้า ควรใช้สีกลาง ๆ เรียบ ๆ ไม่ฉูดฉาดและโดดเด่นกว่าใคร ควรเน้นที่แบบและสีสันที่สามารถใส่ได้นาน ๆ และใส่ได้ทุกโอกาส อาทิเช่น เอิร์ธโทน น้ำตาล เทา ฟ้า ขาว เป็นต้น
๑๐.   วิธีการแต่งตัวที่ดีที่สุด ก็คือการรู้จักเลือกซื้อชุดที่เข้าได้กับชุดอื่น ๆ เพราะจะทำให้เราสามารถนำเสื้อผ้าที่มีไม่กี่ชุด ที่จะใช้สลับเปลี่ยน สลับคู่กันได้ เสมือนมีเสื้อผ้าอยู่หลายชุด

KM-3-2553:เทคนิคการเขียนเอกสารตามระบบ.(30/08/2554)

๑.      ความรู้ทั่วไปในการเขียนเอกสารตามระบบ
๒.      หลักการจัดทำเอกสารในระบบ
๓.      โครงสร้างของเอกสารในระบบ
๔.      การเขียนคู่มือการเขียนเอกสารตามระบบ
๕.      การเขียนขั้นตอนการดำเนินงานเขียนเอกสารตามระบบ
๖.      การเขียนวิธีปฏิบัติงาน วิธีทดสอบ และวิธีใช้เครื่องมือ
๗.      การจัดทำเอกสารสนับสนุน
๘.      การควบคุมเอกสารและการควบคุมการบันทึกเอกสาร

KM-2-2553:เทคนิคการเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหาในการทำงานวิจัย.(30/03/2554)

๑.      ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเรื่องที่เราจะทำวิจัยมีความสำคัญจริง
- ประเมินจากมูลค่าทางเศรษฐกิจของสิ่งที่ทำ, จำนวนผู้คนที่ได้รับประโยชน์จากผลการวิจัย และการได้รับประโยชน์ของกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้ที่ด้อยกว่าทางสังคม
๒.    ทำให้ผู้อ่านเข้าใจถึงแรงจูงใจในการทำวิจัย
-  ประเมินจากการเป็นช่องว่างทางวิชาการที่ยังไม่มีคำตอบ, ยังไม่มีการศึกษาในเรื่องนี้และต้องการได้คำตอบ
เนื่องจากมีความสำคัญ(ตามข้อที่ ๑)
๓.     ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าเราคือคนที่ใช่ สำหรับการทำวิจัย
-   ประเมินจากความเชี่ยวชาญของผลงานที่ผ่านมา, ความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ และความได้เปรียบ       เรื่องข้อมูล
๔.     แนะปัญหาที่กำลังค้นคว้า เป็นการท้าวภูมิหลังและความเป็นมา
- ประเมินจากการจัดลำดับให้ชัดเจนของเรื่องราว แหล่งกำเนิด ผู้ค้นพบ การสืบทอดของปัญหา ที่มาของ  การวิจัย โดยใช้เหตุ และผลมาสนับสนุนความคิดต่าง ๆ เหล่านั้น เพื่อชี้แนะให้เห็นความจำเป็น และความสำคัญของการทำวิจัย เรื่องที่อ้างอิง และสนับสนุนควรจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยเท่านั้น
๕.     กล่าวถึงจุดสนใจของการศึกษาค้นคว้าและมูลเหตุของการทำวิจัยที่ผู้วิจัยจะทำการศึกษาค้นคว้า
-   ประเมินจากการนำเรื่องที่ได้รับความสนใจในขณะนั้น หรือเป็นเรื่องราวที่ยังมิได้รับคำตอบครบถ้วน    หรือขาดรายละเอียด
๖.      การเขียนบรรยายถึงความจำเป็นในการศึกษา และการได้รับคำตอบจากงานวิจัย มีคุณประโยชน์และมีคุณค่า
-   ประเมินจากความต้องการและการยืนยัน หรือการลบล้างความเปลี่ยนแปลงของสภาพและสถานการณ์ต่างๆ  ที่เคยได้มีการศึกษามาแล้ว อีกทั้งใช้หลักการและเหตุผลในการตอบสนองและหักล้างแนวความคิด
๗.     การเขียนนำเรื่องความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา โดยใช้วิธีดังต่อไปนี้
๗.๑ เขียนจากหลักการ และนำเข้าสู่เรื่องเฉพาะ (Deductive Method)
๗.๒ เขียนจากเรื่องเฉพาะ แล้วดำเนินไปถึงเรื่องทั่ว ๆ ไป (Inductive Method)
 - ประเมินจากการเขียนนำในเรื่องความเป็นมานั้น จะใช้แบบใดแบบหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และการวางแผนงานของผู้วิจัย แต่อย่างไรก็ตามผู้วิจัยควรหาหลักฐานในการยืนยันมาสนับสนุนข้อมูลทุกขั้นตอน และพยายามทำให้ผู้อ่านงานวิจัยรู้เรื่องและติดตามงานวิจัยโดยตลอดทั้งเรื่อง

KM-1-2553:เทคนิคการทำ Power Point.(30/03/2554)

. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทราบถึงความจำเป็นและประโยชน์ของการใช้ Power Point
๒. มีการให้ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับ Power Point
. มีการฝึกปฏิบัติการสร้างไฟล์นำเสนอ
. มีการฝึกปฏิบัติการบันทึกไฟล์ การลบ และการเพิ่มสไลด์
. มีการฝึกปฏิบัติการกำหนด Header และ Footer
. มีการฝึกปฏิบัติการ การจัดการฉากหลัง และการจัดทำสไลด์ต้นแบบ
. มีการฝึกปฏิบัติการ การใช้เทคนิคกับแผ่นสไลด์
. มีการฝึกปฏิบัติการ การใช้เทคนิคการจัดทำบทบรรยายสำหรับผู้พูด
๙. มีการฝึกปฏิบัติการ การใช้ตัวอักษรและออปเจ็ค
๑๐. มีการฝึกปฏิบัติการ การสร้างกราฟ, ไดอะแกรม แกลลอรี่, ออร์แกไนซ์เซชั่นและลำดับผังงาน
๑๑. มีการฝึกปฏิบัติการ การเชื่อมโยงหลายมิติและ URL

KM-4-2554:บุคลิกภาพของผู้ให้บริการ.(30/08/2553

.ลักษณะการมอง สายตาสามารถบอกถึงความรัก ความเกลียดชัง ความเมตตาปรานี ความโกรธแค้น ความเคารพนับถือ หรือความเหยียดหยาม ดูหมิ่นดูแคลน ฉะนั้น เมื่อเรามองใคร เราจะต้องพยายามใช้สายตาด้วยความสุภาพเรียบร้อย ระวังในการใช้สายตาอย่าให้คนอื่นเกิดความเข้าใจผิดได้
.ลักษณะการแต่งกาย ต้องคำนึงถึงความสะอาดเรียบร้อย ถูกต้องและเหมาะสมกับกาลเทศะ แต่งกายให้พอดี อย่าให้มากเกินไปจนกลายเป็นน่าเกลียด
.ลักษณะการพูด ต้องมีศิลปะในการพูด พูดให้ชนะใจผู้ฟัง โดยจะต้องใช้คำพูดที่มีเหตุผล สุภาพ ไพเราะ และใช้คำพูดที่เหมาะสมกับผู้ฟัง (โดยคำนึงถึงวัย เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และความสนใจพิเศษของผู้ฟัง) สถานที่ เวลา และโอกาส
.ลักษณะการเดิน ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดเสียงดังจนเกินไป ซึ่งจะทำให้เป็นที่รบกวนผู้อื่น ต้องเดินให้ตัวตรง อกผายไหล่ผึ่ง เดินให้มีท่าทางสง่าและเรียบร้อย ไม่เดินผ่ากลางผู้อื่นที่ยืนสนทนากันอยู่
.การแสดงท่าทาง ต้องระวังท่าทางที่ไม่สวยงาม เวลาพูดหรือทำอะไรก็ตาม อย่ามีการแสดงท่าประกอบมากเกินไปจนน่าเกลียด หรือแสดงท่าที่ไม่สุภาพ
.ทักษะในการทำงาน ในการทำงานใด ๆ ก็ตามจะต้องทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ ต้องทำด้วยท่าทางคล่องแคล่ว ด้วยความชำนาญ และให้ได้ผลงานดีเด่น
.สุขภาพ ต้องระวังสุขภาพให้ดี อย่าให้มีโรค ระวังรักษาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ

KM-3-2553:ปัญหาและข้อจำกัดในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อเขียนรายงานการประเมินตนเอง.(30/08/2553)

๑.มีการให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพการศึกษาโดยถือเป็นนโยบายสำคัญ
๒.มีแผนและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและครอบคลุมภารกิจของคณะในทุกด้าน
๓.มีการติดตามผลการดำเนินงานประกันคุณภาพอย่างจริงจัง
๔.มีการสร้างแรงจูงใจให้อาจารย์และบุคลากรของสถาบันเห็นความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา  รวมทั้งบุคลากรจากทุกหน่วยงานต้องให้ความร่วมมือ
๕.มีการประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์และบุคลากรของสถาบันได้รับทราบเรื่องการประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
๖.มีการให้ความรู้ และคำแนะนำในการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนอย่างเพียงพอจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเรื่องการประกันคุณภาพ

KM-2-2553:เทคนิคการเลือกหัวข้องานวิจัย.(30/08/2553)

๑.ต้องเป็นประโยชน์  (แก้ไขปัญหาได้  ประเด็นน่าสนใจ เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม)
๒.อยู่ภายใต้ศักยภาพของผู้วิจัยที่จะต้องทำได้  (มีความเชี่ยวชาญ  มีข้อมูลสนับสนุน  มองทะลุถึงตอนจบได้)
๓.จะต้องให้ผลที่คุ้มค่ากับทรัพยากรต่าง ๆ  (ไม่กว้างหรือแคบเกินไป ทันต่อเหตุการณ์  ใช้ทรัพยากรในการวิจัยอย่างคุ้มค่า)

KM-1-2553:เทคนิคการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.(30/08/2553)

๑.การเรียนแบบร่วมมือ เป็นวิธีการเรียนที่ให้นักศึกษาทำงานด้วยกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อให้เกิดผลการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้ และทางด้านจิตใจ ช่วยให้นักศึกษาเห็นคุณค่าในความแตกต่างระหว่างบุคคลของเพื่อนๆ เคารพความคิดเห็นและความสามารถของผู้อื่นที่แตกต่างจากตนตลอดจนรู้จักช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อน
.การเรียนแบบประสบการณ์ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ หรือการเรียนรู้จากการได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยนักศึกษาได้มีโอกาสรับประสบการณ์  แล้วได้รับการกระตุ้นให้สะท้อนการเรียนรู้ที่ได้จากประสบการณ์ออกมาเพื่อพัฒนาทักษะเจตคติ หรือวิธีการคิด
.การเรียนแบบอภิปัญญา เป็นการเรียนที่ให้ผู้เรียนคิดโดยเป็นการคิดที่รู้ตัวว่าคิดอะไร มีวิธีคิดอย่างไร สามารถตรวจสอบความคิดของตนได้ และสามารถปรับเปลี่ยนกลวิธีการคิดของตนได้ด้วย
.การเรียนแบบส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เป็นการเรียนโดยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ เช่น ให้นักศึกษษระดมสมอง ให้นักศึกษาคิดออกแบบในวิชาการและพื้นฐานอาชีพ เป็นต้น
.การเรียนแบบทำโครงงาน เป็นการเรียนโดยให้นักศึกษาค้นคว้าเรื่องที่ตนเองสนใจ และทำเป็นโครงงาน (Project) อาจทำเป็น การบ้าน รายงาน หรือวิทยานิพนธ์

ยินดีต้อนรับสู่ web blog Faculty of Engineering Rmutr

ยินดีต้อนรับสู่ Web Blog Faculty of Engineering RMUTR ครับ